วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559



                              
 กระติบข้าว   
โดย 
กลุ่มที่ 11
นาย       สิทธิโชค  พาละพล       เลขที่ 12
นางสาว อภิชญาภรณ์  แก้วสนิท  เลขที่ 20
นางสาว พิชามญชุ์    อินอ่อน       เลขที่ 39
นางสาว พรภัทร    พิมมะศรี       เลขที่  44
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/3
    โรงเรียนยโสธรพิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ครูที่ปรึกษา นายสุทธิ   วงษ์ไกร

 



ชื่อเรื่อง : แชมพูสมุนไพรไทย
ผู้ค้นคว้าอิสระ : โดย
1.นาย         สิทธิโชค  พาละพล       เลขที่ 12
2.นางสาว อภิชญาภรณ์  แก้วสนิท  เลขที่ 20
3.นางสาว พิชามญชุ์    อินอ่อน       เลขที่ 39
4.นางสาว พรภัทร    พิมมะศรี        เลขที่  44
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/3
อาจารย์ผู้ควบคุมการค้นคว้าอิสระ :  คุณครู สุทธิ   วงษ์ไกร
ปีการศึกษา  :  2559       
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมาของกระติบข้าวและวิธีทำกระติบข้าวเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ Note Book โทรศัพท์ และสมุดจดจากการสอบถามชาวบ้าน จากผลการศึกษาพบว่า
                              การสานกระติบเป็นงานหัตถกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และค่านิยมในการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวมักทำจากต้นไม้ต้นเล็กๆ นำมาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ต่อมามีการคำนึงถึงปริมาณไม้ไผ่ในพื้นที่ซึ่งมีมากบ้างน้อยบ้างและความสะดวก หากนำต้นไผ่มาทั้งต้นแบบเดิมต้นไผ่ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั้งภาชนะบรรจุข้าวเหนียวรูปแบบเดิมก็เทอะทะ พกพาไม่สะดวกในการเดินทางไกล

จึงมีการริเริ่มนำเอาไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีกเล็กๆ มาเหลาเป็นแผ่นบางๆ นำมาจักสานเป็นตะกร้ากระบุง บรรจุข้าวสาร และพัฒนานำไม้ไผ่มาจักสานมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว (กระติบ) ซึ่งมีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีทำให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ซึ่งจะทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในยังมีความร้อนและข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ พกพาง่ายเพราะมีการทำสายสะพาย อีกทั้งยังมีหลายรูปแบบ รูปทรงกลม รูปทรงรี หลากหลายขนาดสอดคล้องกับการใช้งาน คือ กระติบขนาดเล็กสำหรับบรรจุข้าวเหนียวสำหรับรับประทานคนเดียว ขนาดกลางสำหรับรับประทาน 2-3 คน ขนาดใหญ่สำหรับรับประทานทั้งครอบครัว เป็นต้น




กิตติกรรมประกาศ

                   รายงาน เรื่อง กระติบข้าว ฉบับนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก ดร. มานิต  เขียวศรี  ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคมและนายพิสิษฐ์   วัฒนาไชย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้
                   ขอขอบพระคุณ นายสุทธิ   วงษ์ไกร  ครูที่ปรึกษา ที่ได้คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วง และขอขอบคุณคณะครูทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
                   ขอขอบพระคุณคุณยาย สำอาง  สุวรรณเพชร ที่ให้ข้อมูลความเป็รมาของกระติบข้าวและวิธีทำกระติบข้าวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของข้าพเจ้าและผู้ที่จะศึกษาเป็นอย่างมาก
                                                                                                                               

คณะผู้จัดทำ
1.นาย         สิทธิโชค  พาละพล       เลขที่ 12
2.นางสาว อภิชญาภรณ์  แก้วสนิท  เลขที่ 20
3.นางสาว พิชามญชุ์    อินอ่อน       เลขที่ 39
4.นางสาว พรภัทร    พิมมะศรี        เลขที่  44









1
บทที่  1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
                 เมื่อสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ยุคหินใหม่ใช้ใบไม้ที่มีขนาดใหญ่บรรจุอาหารและพืชผักต่างๆ สมัยนั้นอาจจะไม่เริ่มเข้าสู่การพัฒนาที่จะปลูกข้าวเพราะบริโภคเนื้อสัตว์แทนจงกระทั้งสมัยประวัติศาสตร์ก็ยังนิยมใช้ใบไม้บรรจุอาหารเช่นกัน เพราะใบไม้ไม่เป็นพิษต่ออาหารและป้องกันความร้อนได้ดี และคงความสวยงามและเมื่อยุคสมัยประวัติศาสตร์ก็เริ่มพัฒนาด้านความคิดและสิ่งประดิษฐ์เช่นใช้ฝ้ายในการทอผ้า ใช้ดินเผามาทำเครื่องปั้นดินเผา เหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ เมื่อได้ปลูกข้าวขึ้นก็เป็นที่รู้จักมากขึ้นและมนุษย์เราบริโภคจำนวนมากในการประกอบอาหารไม่ว่าจะหุง นึ่ง ต้ม แต่ละชนิดก็จะมีวิธีการประกอบอาหารและบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน
                ประเทศไทยได้ริเริ่มปลูกข้าวเป็นเศรษฐกิจสินค้าส่งออกและเป็นสินค้าที่มีคุณภาพอันดับต้นๆของโลก ข้าวที่คนไทยนิยมปลูกก็มีหลักๆคือ ข้าวเหนียว และ ข้าวจ้าว ไว้บริโภค แต่สำหรับข้าวเหนียวนั้นชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) จะนิยมเพาะปลูกข้าวเหนียวซึ่งกรรมวิธีในการทำให้ข้าวเหนียวสุกนั้นยุ่งยากและหลายขั้นตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาชนะบรรจุความร้อนของข้าวเหนียวเพราะข้าวเหนียวนั้นร้อนเร็วและก็เย็นเร็วเช่นกัน เพื่อเก็บความร้อนของข้าวเหนียวไว้นานชาวอีสานได้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวอีสาน ได้มีการหันมาใช้วัสดุจากธรรมชาติเช่น ไม้ไผ่ ใบจาก และใบตาล มาเหลาเป็นลักษณะยาวเรียวซีกเล็กๆไว้สำหรับสานจนเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า กระติบข้าว
                ในจังหวัดยโสธรกระติบข้าวถือเป็นงานหัตกรรมที่ทรงคุณค่าและเป็นสินค้าโอท็อปประจำจังหวัด โดยจังหวัดยโสธรได้จัดให้ชุมชนบ้านนาสะไมย์ ต.นาสะไมย์  จ.ยโสธร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในการสานกระติบข้าว ซึ่งชาวบ้านใช้งานฝีมือการจักรสานกระติบข้าวประกอบอาชีพทำมาหากิน วัสดุที่ใช้ก็ได้จากธรรมชาติในท้องถิ่น กระติบข้าวถือเป็นภาชนะบรรจุอาหารและงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่าที่มากด้วยภูมิปัญญาของชาวอีสานและภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวเหนียว
จากสภาพปัญหาดังกล่าว กลุ่มผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องกระติบข้าว ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ อันส่งผลให้ผู้ที่จะศึกษาหรือคนในชุมชนมีความรู้เรื่องการทำและประสิทธิภาพในการเก็บความร้อน                                       
2
วัตถุประสงค์                                                                                                                                                             
                รายงาน เรื่อง กระติบข้าว มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้                                      1.เพื่อศึกษาวิธีการทำกระติบข้าว                                                                                                                      
2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเก็บความร้อนของกระติบข้าว                                                               
3.เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนได้ดี
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
                                รายงาน เรื่อง    แชมพูสมุนไพรไทย  ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่               วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม เดือน พ.ศ. 2559
สถานที่ดำเนินการ
                  บ้านนาสะไมย์ ต.นาสะไมย์  อ.เมือง จ.ยโสธร
ขอบเขตการของการศึกษาค้นคว้า
                                ผู้ศึกษามุ่งศึกษาเรื่อง กระติบข้าว ในด้านการทำกระติบข้าว การศึกษาประสิทธิภาพและการพัฒนาประสิทธิภาพ
นิยามศัพท์เฉพาะ
      1  O – TOP หมายถึง สินค้าที่เป็นจุดเด่นของชุมชนและจังหวัด
      2  งานหัตถกรรม หมายถึง งานที่ทำด้วยตัวเอง
      3 ข้าวเหนียว หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวชนิดหนึ่ง เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วจะเหนียวติดกัน

สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า
             1.กระติบข้าวได้เป็นที่รู้จักของผู้ที่สนใจศึกษา                                                 
             2.กระติบข้าวมีประสิทธิภาพในการเก็บความร้อน                                    
             3.การใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์มีประสิทธิภาพการเก็บความร้อนได้ดีกว่าไม่ใช้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ศึกษาวิธีการทำกระติบข้าว                                                                                                              
2.ได้ศึกษาประสิทธิภาพในการเก็บความร้อนของกระติบข้าว                                 
3.ได้พัฒนาประสิทธิภาพของกระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนได้ดี





3
บทที่  2
เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. สภาพทั่วไป
                   บ้านนาสะไมย์  ต.นาสะไมย์  อ.เมือง  จ.ยโสธร
2. แนวคิด / ทฤษฎีที่มีต่อกระติบข้าว
                  
2.1 กระติบข้าวภาคอีสาน
                   การสานกระติบเป็นงานหัตถกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และค่านิยมในการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวมักทำจากต้นไม้ต้นเล็กๆ นำมาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ต่อมามีการคำนึงถึงปริมาณไม้ไผ่ในพื้นที่ซึ่งมีมากบ้างน้อยบ้างและความสะดวก หากนำต้นไผ่มาทั้งต้นแบบเดิมต้นไผ่ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั้งภาชนะบรรจุข้าวเหนียวรูปแบบเดิมก็เทอะทะ พกพาไม่สะดวกในการเดินทางไกล จึงเริ่มนำเอาไผ่มาเหลาเป็นซีกเล็กๆบางๆ นำมาจักรสานเป็นตะกร้าบุง มีน้ำหนักเบา ระบายและระเหยไปได้ทำให้มีความร้อนและไม่แฉะด้วยไอน้ำ พกพาง่าย

2.2 ภูมิปัญญา
                   ภูมิปัญญา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา
กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยูภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ
ฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
           กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว

4
2.3 วิธีการทำกระติบข้าว
เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1.       ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ  ไม่ติดมือ
2.       พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน                           2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่                       4.   กรรไกร
5. มีดโต้                                  6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)    8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก                       10. เครื่องกรอด้าย
                  
    ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
           1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือนการเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน
            2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย

5
3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการเมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน
     6
                      4. การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ ลายข้างกระแตสองยืนและสามยืนการขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก 2 เส้นแล้วทิ้ง 2 เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
               5. ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า อัดตุ๋ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
                6. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า ตีนติบข้าวเป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
                 7. ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ในกรณีต้องการเก็บอุณหภูมิให้นานยิ่งขึ้นมีการดัดแปลงใช้กระดาษฟอยด์เสริมระหว่างชั้นตามรูป





7
 

3. การใช้อะลูมิเนียมฟอยล์
3.1อลูมิเนียมฟอยล์
 คือ อะลูมิเนียมที่มีความหนา 0.15 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า การนำไปใช้งานแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
3.2 แผ่นอลูมิเนียมธรรมดา
            2. แผ่นอลูมิเนียมที่มีการเคลือบด้วยสาร ที่ทำให้สามารถปิดผนึกได้ด้วยความร้อน
            3. แผ่นอลูมิเนียมที่มีการเคลือบหรือประกบกับกระดาษหรือฟิล์มพลาสติก
3.3 คุณสมบัติของแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์
1. ไม่มีกลิ่นและรสไม่เป็นพิษ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
2. ทึบแสง จึงใช้เป็นภาชนะบรรจุเพื่อป้องกันแสงสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมคุณภาพได้ง่ายเมื่อได้รับแสง
3. สะท้อนรังสีความร้อน เนื่องจากผิวหน้าทั้ง 2 ด้านต่างกันคือ มันและด้าน จึงสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ 95% ใช้เป็น ฉนวนป้องกันความร้อนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาอุณหภูมิให้ต่ำหรือสูงตามที่ต้องการ เช่น อาหารแช่แข็งที่บรรจุในภาชนะแผ่นเปลวอะลูมิเนียมจะ เกิดการสะท้อนรังสีความร้อนทำให้การละลายเกิดขึ้นช้าลง
4. เป็นตัวนำความร้อน กล่าวคือ แผ่นเปลวอะลูมิเนียมร้อนและเย็นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เหมาะกับการใช้เป็นภาชนะในการแช่แข็งหรืออบด้วยความร้อน และยังทำให้การปิดผนึกด้วยความร้อนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
5. มีเสถียรภาพในช่วงอุณหภูมิกว้าง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในแผ่นเปลวอะลูมิเนียมจึงสามารถนำไปให้ความร้อนแล้วนำมาแช่แข็ง และให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่งได้โดยไม่ต้องถ่ายภาชนะ
6. ไม่ดูดความชื้นและของเหลว จึงไม่หดตัว ย่นหรืออ่อนตัว
7. โค้งงอได้ สามารถพับ จีบ หรือขึ้นรูปได้ อยู่ตัวดี จึงนำมาใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น ใช้เป็นฝาปิดขวดนม เครื่องดื่มและใช้ห่อเนย ขนมปัง ช็อกโกเลต ลูกกวาด บุหรี่
8. ป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี จึงเหมาะกับการใช้ห่ออาหารประเภทที่มีน้ำมัน เนยและเนยแข็ง

8
4.2 งานวิจัยในประเทศ
 งานวิจัย กระติบข้าว  ร้อนร้อนจ๋า โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์   อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
                   คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจะมีภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวเพื่อบริโภคเรียกว่า กระติบข้าวที่ทำมาจากไม้ไผ่                จากการศึกษาสมบัติของอลูมิเนียมฟอยล์พบว่าป้องกันความร้อนและการแผ่รังสีได้ดีจึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีขนาดเท่ากันแต่มีส่วนประกอบต่างกันมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก
                   จุดมุ่งหมาย:   เพื่อเปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบกับกระติบข้าวที่
                สมมติฐาน :ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก
                   กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบเก็บความร้อนได้ดีกว่ากระติบข้าว
ที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

















9
บทที่  3
วิธีดำเนินการ

                                     รายงาน เรื่อง กระติบข้าว ผู้ศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้

วิธีดำเนินการ
1. ตั้งประเด็นศึกษา
1.) วิธีการสานกระติบข้าว (กระติ้บข้าวร้อนๆจ๋า / https://sites.google.com)
2.) วัสดุที่ใช้                       (กระติ้บข้าวร้อนๆจ๋า / https://sites.google.com)
3.) แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์  (กระติ้บข้าวบ้านหนองแสน / https://sites.google.com)

2.ที่มาของแหล่งข้อมูล
                   ผู้ศึกษาได้ศึกษาเรื่องกระติบข้าว จากเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตโดยผ่านทางคอมพิวเตอร์
 โดยผู้ศึกษาได้เข้าค้นคว้าจากเว็บ https://sites.google.com โครงงานพัฒนากระติบข้าวและผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีประโยชน์ทั้งจากเว็บไซต์ https://sites.google.com / และวิกิพีเดีย ที่มีชื่อว่า กระติ้บข้าวร้อนๆจ๋า เพื่อพัฒนาแนวคิดในการนำเอาแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บความร้อนได้ดียิ่งๆขึ้น
3.รวบรวมเก็บข้อมูล
                   กลุ่มผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมเก็บข้อมูล ดังนี้
1. เขียนข้อมูลที่จะศึกษาลงไว้ในกระดาษทำงานกลุ่ม เมื่อเสร็จแล้วก็ดาวน์โหลดเอกสารการทำโครงการ บทที่ 1-3 สิทธิโชคและอภิชญาภรณ์ได้ทำการศึกษาและพิมพ์ข้อมูล
ส่วนบทที่ 4-5 พรภัทรเป็นผู้หาข้อมูล แล้วพิชามญชุ์ได้ทำการพิมพ์ข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลทั้งหมด กลุ่มของผู้ศึกษาได้ลงพื้นที่สอบถามคนในชุมชนบ้านนาสะไมย์ซึ่งได้ข้อมูลความรู้เพียงเล็กน้อยในสิ่งที่เพิ่มเติมจากเว็บไซต์










10
บทที่  4
ผลการดำเนินการ
                   รายงาน เรื่อง กระติบข้าว ผู้ศึกษาได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปรผลที่ได้จากการรวิเคราะห์มีผลการดำเนินการ ดังนี้
1.วัสดุที่ใช้
2.วิธีการทำกระติบข้าว
3.ประสิทธิภาพการเก็บความร้อน

ผลการดำเนินการ
1.วัสดุที่ใช้
อุปกรณ์
1.1 ไม้ไผ่บ้าน                           1.2 ด้ายไนล่อน
1.3 เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่          1. 4.   กรรไกร
1.5 มีดโต้                                  1. 6เลื่อย
1.7 ก้านตาล                              1.8 เครื่องขูดตอก       

2.วิธีการทำกระติบข้าว
              2.1 การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน
การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน            
              2.2 เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย
              2.3 เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ



11

เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียนการสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย
               2.4 การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือลายข้างกระแตสองยืนและสามยืนการขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก 2 เส้นแล้วทิ้ง 2 เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
               2.5 ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า อัดตุ๋ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
                2.6 ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า ตีนติบข้าวเป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
                 2.7 ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

12
3.ประสิทธิภาพการเก็บความร้อน
                 ช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย
               ในกรณีต้องการเก็บอุณหภูมิให้นานยิ่งขึ้นมีการดัดแปลงใช้กระดาษฟอยด์เสริมระหว่างชั้น






13
บทที่  5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

                   รายงาน เรื่อง กระติบข้าว ผู้ศึกษาสามารถสรุปและอภิปรายผลการดำเนินการ ดังนี้

สรุปผล
การจัดทำรายงาน เรื่อง กระติบข้าว สามารถสรุปได้ ดังนี้
              จากการศึกษาการทำกระติบข้าว  ทางกลุ่มผู้ศึกษาสรุปได้ว่าการทำกระติบข้าวนั้นเราสามารถทำเองได้เพียงแค่รู้จักวิธีการทำและรู้จักใช้อุปกรณ์
โดยมีอุปกรณ์ ดังนี้
1 ไม้ไผ่บ้าน                           2 ด้ายไนล่อน         3 เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่          4   กรรไกร
5 มีดโต้                                  6เลื่อย                    7 ก้านตาล                              8 เครื่องขูดตอก       
        
    การสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ
ฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
อภิปรายผล
                   การจัดทำรายงาน เรื่อง กระติบข้าว สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
                          โดยในปัจจุบันคนภาคอีสานเรามักจะนิยมใช้กระติบข้าวที่เป็นของท้องถิ่นเราควรจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงอยากที่จะศึกษาวิธีการทำกระติบข้าวและเพื่อศึกษาประโยชน์ของการเก็บความร้อนทั้งข้อดีและข้อเสีย  เพื่อที่จะนำมาพัฒนาให้กระติบข้าวสามารถนำมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด








14
ข้อเสนอแนะ
                   การจัดทำรายงาน เรื่อง กระติบข้าว มีข้อเสนอแนะดังนี้ ดังนี้เนื่องจากเขตภาคอีสานของเรามีการทำกระติบข้าว ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการทำรายงานครั้งต่อไปในการศึกษาประสิทธิภาพการพัฒนากระติบข้าวที่สามารถกักเก็บความร้อนได้ดียิ่งขึ้น ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยสามารถทำให้การเก็บอยู่ได้นานตลอดทั้งวัน